ยินดีต้อนรับเข้าสู่เว็บบล็อก วิชานวัตกรรมและสื่อการสอนภาษาไทยของ นางสาวผกามรินทร์ ตามกระโทก คบ.๓ สาขาวิชาภาษาไทย หมู่ที่ ๓ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์

วันจันทร์ที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2556

การวิเคราะห์วรรณคดีและวรรณกรรมร้อยแก้ว


วรรณคดี/วรรณกรรมประเภทร้อยแก้วควรพิจารณาองค์ประกอบดังต่อไปนี้

๑. รูปแบบคำประพันธ์ วรรณคดีร้อยแก้วจำแนกตามลักษณะของการเขียนได้เป็น ๒ ประเภทใหญ่ๆ คือ

                ๑.๑ สารคดี หมายถึง งานนิพนธ์ที่มุ่งให้ความรู้ เสนอสารที่เป็นจริงตามข้อเท็จจริง เหตุการณ์ และบุคคลที่เป็นจริง เพื่อให้ผู้อ่านได้รับความรู้และได้รสจากการอ่าน รสของการอ่านจะได้รับมากน้อยอยู่ที่ศิลปะการใช้ภาษาของผู้เขียนแต่ละบุคคล
                ๑.๒ บันเทิงคดี หมายถึง งานนิพนธ์ที่เป็นเรื่องเล่าสมมุติหรือมีความเป็นจริงตามข้อเท็จจริงอยู่บ้าง หรือ มุ่งให้ความบันเทิงและความเพลิดเพลินแก่ผู้อ่านเป็นสิ่งสำคัญ บางครั้งบันเทิงคดีอาจแทรกความรู้ ความคิดเห็นในเรื่องต่างๆ ไว้ด้วย

สารคดี
การวิจารณ์วรรณกรรมร้อยแก้วประเภทสารคดี พิจารณาองค์ประกอบดังต่อไปนี้
๑. รูปแบบ ลักษณะการเขียนวรรณกรรมร้อยแก้วประเภทนี้มีหลายรูปแบบ เช่น เรียงความ ความเรียง  บทความ จดหมายเหตุ บันทึกเหตุการณ์ บันทึกความทรงจำ คำบรรยาย เป็นต้นงานเขียนแต่ละรูปแบบล้วนมีจุดมุ่งหมายหรือเจตนาในการเขียนแตกต่างกันไป มุ่งให้ความรู้ทางวิชาการความรู้ทางเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ เสนอความคิดให้แง่คิดในการปฏิบัติตน มุ่งโน้มน้าวใจ ปลุกใจ วิจารณ์ เป็นต้นการวิจารณ์วรรณกรรมร้อยแก้วนี้ ผู้อ่านต้องพิจารณารูปแบบและจุดมุ่งหมายของวรรณกรรมนั้นๆ ว่าเหมาะสมหรือไม่


๒. เนื้อหา ประกอบด้วยโครงเรื่องและเนื้อเรื่อง
                ๒.๑ โครงเรื่อง คือหัวข้อย่อยที่สร้างขึ้นจากแนวคิดสำคัญ จากโครงเรื่อง จะมีการต่อเติมเสริมแต่งจนกลายเป็นเนื้อเรื่อง
                ๒.๒ เนื้อเรื่อง เป็นส่วนที่ผู้เขียนกล่าวถึงเรื่องอะไรบ้าง มีสาระสำคัญอะไร


เนื้อเรื่องแบ่งออกเป็น ๓ ส่วน ดังนี้
            ส่วนขั้นนำเป็นการกล่าวข้อความที่จะนำไปสู่เรื่อง ผู้เขียนอาจเริ่มด้วยประโยคเด่นที่เป็นประโยคสำคัญ
            ส่วนที่เป็นตัวเรื่องเขียนกล่าวถึงความเป็นจริง หรือเป็นข้อความรู้ ความคิดเห็นอาจมีการอ้างอิงข้อความที่เป็นคำกล่าวของผู้ทรงคุณวุฒิ หรือสอด- แทรกประสบการณ์ อุทาหรณ์ของผู้เขียนลงไป    เพื่อเพิ่มน้ำหนักให้น่าเชื่อถือ มีการเสนอปัญหาทางแก้ไขปัญหา    ทั้งนี้อยู่ที่จุดมุ่งหมายของผู้เขียนว่าต้องการอย่างไร                                           

                ส่วนท้ายเรื่อง เป็นการเน้นข้อความอย่างใดอย่างหนึ่งให้ผู้อ่านเห็นเด่นชัด อาจทิ้งท้ายด้วยปัญหาเพื่อท้าทายให้ผู้อ่านคิดต่อไป
                   ***การวิจารณ์วรรณคดีร้อยแก้วประเภทสารคดีนี้ นักเรียนต้องจับแนวความคิดสำคัญของผู้เขียนให้ได้ว่าเนื้อความที่เขียนเป็น ความรู้ ความคิดเห็น หรือเป็นข้อเท็จจริง พิจารณาดูความถูกต้อง ความมีเหตุผลน่าเชื่อถือในการแสดงความคิดเห็นของผู้เขียน พิจารณาถึงประโยชน์และความเป็นไปได้ในการนำข้อเสนอไปปฏิบัติ

๓. กลวิธี การวิจารณ์กลวิธีนัก เรียนต้องพิจารณาวิธีเขียนของผู้เขียนว่า ใช้วิธีแบบเรียบง่ายหรือซับซ้อน การลำดับความเป็นไปตามขั้นตอนหรือไม่ เนื้อความน่าอ่าน ลื่นไหล หรือวกไปวนมาจนจับใจความไม่ได้ การแบ่งเนื้อหาเป็นหัวข้อใหญ่ หัวข้อย่อย สัมพันธ์กัน และ สอดคล้องกันหรือไม่ การนำเสนอมีแนวคิดสร้าง-สรรค์ไปปฏิบัติได้

๔. การใช้ภาษา ผู้เขียนวรรณคดีแต่ละคนมีลักษณะการเขียนเฉพาะตน ดังนั้นการอ่านและวิจารณ์การใช้ภาษาของ ผู้เขียน ว่าใช้ภาษาได้เหมาะสมกับเนื้อเรื่องหรือไม่ สำนวนภาษาที่ใช้เป็นภาษาที่เป็นทางการ หรือ ภาษาที่ไม่เป็นทางการ การเรียบเรียงข้อความมีลักษณะที่ชัดเจน เข้าใจง่าย หรือซับซ้อนอย่างไร มีการใช้คำศัพท์วิชาการได้ถูกต้องและเหมาะสมเพียงใด

บันเทิงคดี
พิจารณาองค์ประกอบ ดังนี้
                ๑. รูปแบบ วรรณคดีร้อยแก้วประเภทร้อยแก้วประเภทบันเทิงคดีมีรูปแบบเป็นเรื่องสั้นและนวนิยายจะพิจารณาได้ดังนี้


เรื่องสั้น      

                จะมีลักษณะแตกต่างจากนวนิยาย เรื่องสั้นจะมีขนาดของเรื่องสั้นกว่า มีองค์ประกอบที่แตกต่างไปในด้านความคิดคือ เรื่องสั้นจะมีแนวคิดสำคัญเพียงแนวเดียว ตัวละครมีจำนวนน้อยประมาณ ๒ - ๓ ตัว ตัวเอกควรมีตัวเดียว เรื่องสั้นที่ดีจะมีลักษณะเด่นคือ มีจุดแห่งความสนใจซึ่งสามารถดึงดูดผู้อ่านให้เกิดความเห็นคล้อยตามหรือขัด แย้งก็ได้ จุดสนใจอาจเป็นพฤติกรรมตัวละครเหตุการณ์ ข้อขัดแย้ง หรือตัวละคร บางทีจุดสนใจอยู่ที่แนวความคิดซึ่งผู้เขียนประสงค์จะสื่อให้ผู้อ่านโดยตรง ไม่พะวงกับการสร้างเหตุการณ์ หรือพฤติกรรมแต่อย่างใด เรื่องสั้นจะมีจุดสนใจไม่มากและไม่ซับซ้อน

นวนิยาย  

                เป็นเรื่องสมมุติที่แต่งขึ้น มีขนาดยาวเพียงใดไม่มีการจำกัด มีโครงเรื่องที่ดำเนินติดต่อและประสานกันตลอด ตัวละครในเรื่องแต่ละตัวมีลักษณะนิสัยใจคอที่หลากหลายเพื่อความมุ่งหมาย สำคัญคือ ให้มีความสมจริงการเสนอตัวละคร และ พฤติกรรม จะซับซ้อนมากน้อยอย่างไรไม่จำกัดแล้วแต่เรื่องที่วางไว้ บางเรื่องอาจดำเนินเรื่องโดยเริ่มเนื้อเรื่องกล่าวถึงตอนจบของเหตุการณ์ เรียงไปตามลำดับ บางเรื่องเสนอเนื้อเรื่องย้อนไปย้อนมาซึ่งล้วนเป็นกลวิธีการดำเนินเรื่องที่ ผู้เขียนประสงค์จะใช้เพื่อดึงดูดความสนใจของผู้อ่าน

                ๒. เนื้อหา คือสาระสำคัญที่ทำให้เกิดเป็นเรื่องราวอันประกอบด้วย แก่นของเรื่อง ตัวละคร ฉาก หรือบรรยากาศ ผู้เขียนที่มีความสามารถจะต้องประสมประสานสิ่งเหล่านี้เข้าด้วยกันเป็น เรื่องราวตลอดเรื่องได้อย่างแนบเนียน
                                ๒.๑ แก่นของเรื่องหรือแนวคิด คือ จุดสำคัญที่ผู้เขียนต้องการจะสื่อสารถึงผู้อ่าน เช่น ค่านิยม อารมณ์ต่างๆ สภาพหรือเหตุการณ์ เป็นต้น แก่นของเรื่องจะเชื่อมโยงเรื่องทั้งหมดเข้าด้วยกันโดยเสนอทรรศนะที่ผู้เขียน ต้องการ ผ่านพฤติกรรมของตัวละครออกมาเป็นลักษณะนิสัยของตัวละครในเรื่อง


                                ๒.๒ โครงเรื่อง คือการลำดับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นเหตุเป็นผลต่อเนื่อง เชื่อมโยงเหตุการณ์ใน เรื่องให้ดำเนินต่อเนื่องเป็นเรื่องราวตั้งแต่ต้นจนจบ

                                ๒.๓ ตัวละคร หมายถึง ผู้ประกอบพฤติกรรมตามเหตุการณ์ในเรื่อง หรือ ผู้ที่ได้รับผลจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นตามโครงเรื่อง ตัวละครต้องมีชีวิตคือ แสดงบทบาท พูด คิด ทำกิริยาหรือปฏิบัติเช่นเดียวกับคนจริงๆ แบ่งออกเป็น ๒ ประเภท คือ

                                                ๒.๓.๑ ตัวละครที่เปลี่ยนแปลงไม่ได้ คือ มีลักษณะนิสัยหรือพฤติกรรมด้านเดียวไม่มีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมไปตาม เหตุการณ์หรือสิ่งแวดล้อม

                                                ๒.๓.๒ ตัวละครที่เปลี่ยนแปลงได้ คือ มีลักษณะนิสัยหรือพฤติกรรมเปลี่ยนแปลงไปตามเหตุการณ์และสิ่งแวดล้อมจะมี ลักษณะคล้ายบุคคลที่มีชีวิตจริง การวิจารณ์ตัวละคร ต้องพิจารณาการนำเสนอตัวละครของผู้เขียนว่ามีความสมจริงหรือไม่ พฤติกรรมตัวละครเป็นอย่างไร เป็นพฤติกรรมดีหรือไม่อย่างไร

                                ๒.๔ บทสนทนา บทสนทนาที่ดีต้องง่ายและเหมาะสมกับบุคลิก/ลักษณะนิสัยของตัวละคร การสร้าง ความสมจริงและชีวิตจิตใจให้แก่ตัวละคร ขึ้นอยู่กับวิธีเขียนบทสนทนาให้แก่ตัวละคร บทสนทนาที่สั้นๆย่อมเข้าใจง่ายและน่าอ่านกว่าบทสนทนายาวๆที่มักเป็นการสั่ง สอน/จูงใจ

                                ๒.๕ ฉาก บรรยากาศ หรือสถานที่ บรรยากาศหรือ รายละเอียดในเรื่องที่ก่อให้เกิดอารมณ์อย่างใดอย่างหนึ่ง เป็นพลังให้เกิดพฤติกรรมตามโครงเรื่อง การวิจารณ์จะพิจาณาการเสนอฉากของผู้เขียนว่า ใช้วิธีพรรณนา และ สร้างบรรยากาศ ให้เกี่ยวข้องกับสถานที่และสอดคล้องกับเหตุการณ์หรือไม่ ฉาก บรรยากาศ หรือสถานที่ต้องสอดคล้องและสัมพันธ์กันตลอดเรื่องได้ดีเพียงไร
                *** การวิจารณ์วรรณคดีร้อยแก้วประเภทนี้ นักเรียนควรพิจารณาส่วนประกอบเหล่านี้ ทุกส่วนพิจารณาดูความสมจริง มีลักษณะใดที่กวีแสดงออกมาเป็นพิเศษแตกต่างไปจากผู้เขียนคนอื่นบ้างหรือไม่ อย่างไร ผู้เขียนใช้ตัวละคร เหตุการณ์ สถานที่ บทสนทนา เป็นเครื่องมือให้ผู้อ่านเกิดความซาบซึ้งหรือประทับใจอย่างไร


                ๓. กลวิธี การวิจารณ์วรรณคดี ผู้อ่านควรพิจารณากลวิธีที่ผู้เขียนใช้ในการดำเนินเรื่อง เช่น เล่าไปตามลำดับเวลา หรือเล่าเรื่องย้อนกลับ การแสดงทรรศนะที่ผู้เขียนส่งผ่านไปยังตัวละคร และพฤติกรรมตัวละครแสดงทรรศนะออกมาให้เห็นชัดเจนหรือไม่ เหตุการณ์ที่ผู้เขียนนำเข้าไปใส่เพื่อเป็นเรื่องราวต่างๆ ขึ้นมานั้น สอดคล้องและสัมพันธ์กันตลอดเรื่องหรือไม่

                ๔. ภาษาที่ใช้ วรรณคดีร้อยแก้วประเภทนี้ ผู้เขียนจะใช้ลักษณะการเขียนด้วยศิลปะเฉพาะตน จึงควร พิจารณาโดยรวมดังนี้

                                ๔.๑ การเลือกใช้คำ ถ้อยคำที่ใช้ควรมีความหมายเหมาะสมกับทำนองเรื่องที่เขียนและลักษณะของตัว ละคร เช่น ถ้าตัวละครอยู่ในท้องถิ่น คำที่เกี่ยวเนื่องหรือบทสนทนาควรจะต้องเหมาะกับสภาพท้องถิ่นนั้นๆ เป็นต้น

                                ๔.๒ การใช้โวหารในการเขียน วรรณคดีร้อยแก้วที่ผู้อ่านประทับใจ เกิดจากการที่นักเขียนรู้จักเลือกใช้สำนวนโวหารต่างๆ มาผสมผสานกับเนื้อเรื่องได้อย่างแนบเนียนและประณีต โวหารต่างๆ ที่ผู้เขียนใช้คือ

                                                ๔.๒.๑ บรรยายโวหาร ผู้เขียนใช้โวหารนี้โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อเล่าเรื่องอธิบายเรื่องราวเพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจ บรรยายโวหารจะใช้ถ้อยคำตรงไปตรงมา รวบรัด ไม่เยิ่นเย้อ

                                                ๔.๒.๒ พรรณนาโวหาร ผู้เขียนใช้เพื่อถ่ายทอดเรื่องราว หรือ ความรู้สึกอย่างละเอียดลออเกี่ยวกับ เหตุการณ์ อารมณ์และจินตนาการ มุ่งเน้นให้ผู้อ่านเกิดความรู้สึกซาบซึ้ง ประทับใจสะเทือนอารมณ์ใช้สำนวนโวหารที่ไพเราะมักเล่นคำเล่นเสียง ใช้ภาพพจน์ทำให้เกิด ความไพเราะและเพลิดเพลิน

                                                ๔.๒.๓ อุปมาโวหาร เป็นการเขียนโดยใช้ถ้อยคำแสดงการเปรียบเทียบเพื่อให้เข้าใจ หรือเห็นภาพอย่างชัดเจนยิ่งขึ้น

                                                ๔.๒.๔ สาธกโวหาร เป็นการเขียนโดยใช้ถ้อยคำที่มุ่งให้ความชัดเจนโดยยกตัวอย่าง เพื่ออธิบายให้ แจ่มแจ้ง เพื่อให้ข้อความมีความสมบูรณ์หนักแน่นน่าเชื่อถือ ตัวอย่างที่นำมายกประกอบต้องมีเหตุผล มีข้ออ้างอิง การเลือกตัวอย่างต้องเข้ากันได้กับเนื้อความเป็นอย่างดี

                                                ๔.๒.๕ เทศนาโวหาร เป็นการเขียนที่ใช้ถ้อยคำเพื่อการสั่งสอน ชักจูง โน้มน้าว แนะนำอย่างมีเหตุผล มีข้อเท็จจริง แสดงจุดมุ่งหมายอย่างแจ่มแจ้งเพื่อให้ผู้อ่านเลื่อมใสปฏิบัติตามหรือคล้อย ตาม



                ***การวิจารณ์ด้านการใช้ภาษา ต้องพิจารณาสำนวนโวหาร ถ้อยคำ ที่ผู้เขียนใช้ว่าแนบเนียน สอดคล้องกับเหตุการณ์หรือพฤติกรรมตัวละครได้ดีเพียงใด สามารถสร้างความประทับใจ ก่อให้เกิดความเพลิดเพลิน สร้างความจรรโลงใจได้มากน้อยเพียงใด



ที่มา : http://www.pasasiam.com

วันอังคารที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2556

การเขียนบรรณนุกรม

ความหมายของบรรณานุกรม
        บรรณานุกรม  คือ  รายชื่อหนังสือเอกสาร  สิ่งพิมพ์ต่าง ๆ รวมทั้งโสตทัศนวัสดุ  และสื่ออีเล็กทรอนิกส์ ที่นำมาเป็นหลักฐานอ้างอิงในการเขียนรายงาน  โดยเรียงตามลำดับอักษรไว้ท้ายเรื่อง

จุดมุ่งหมายในการเขียนบรรณานุกรม
        1.  ทำให้รายงานนั้นเป็นรายงานที่มีเหตุผล  มีสาระน่าเชื่อถือ
        2.  เป็นการเคารพสิทธิและความคิดเห็นของผู้อื่นจึงนำมาอ้างไว้
        3.  เป็นแนวทางสำคัญสำหรับผู้สนใจต้องการศึกษารายละเอียดเพิ่มเติม โดยศึกษาได้จากบรรณานุกรมนั้น ๆ
        4.  สามารถตรวจสอบข้อเท็จจริงที่นำมาอ้างได้

วิธีเขียนบรรณานุกรม
        การเขียนบรรณานุกรมจากหนังสือ  ผู้เรียนสามารถนำข้อมูลจากหน้าปกใน และด้านหลังของหน้าปกใน ของหนังสือเล่มที่บันทึกข้อมูลมาเขียนบรรณานุกรม  การเขียนบรรณานุกรมจากวารสาร นำข้อมูลจากหน้าปก ของวารสารฉบับที่บันทึกข้อมูล มาเขียนบรรณานุกรม  และการเขียนบรรณานุกรมจากหนังสือพิมพ์ นำข้อมูลจากหน้าแรกของหนังสือพิมพ์มาเขียนบรรณานุกรม  และการเขียนบรรณานุกรมจากสื่ออีเล็กทรอนิกส์ นำข้อมูลจากหน้าแรกของเว็บเพจมาเขียนบรรณานุกรม    ดังนี้
        1.  เขียนไว้ในส่วนท้ายของรายงาน
        2.  เขียนเรียงลำดับอักษรชื่อผู้แต่ง ในกรณีที่มีทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ให้เขียนบรรณานุกรมภาษาไทยก่อน
        3.  บรรทัดแรกของบรรณานุกรมชิดด้านซ้ายที่เว้นจากขอบกระดาษเข้ามา  1.5  นิ้ว  ถ้ายังไม่จบ เมื่อขึ้นบรรทัดใหม่โดยย่อหน้าเข้ามาประมาณ  7  ช่วงตัวอักษรของบรรทัดแรก  ให้เขียนตรงกับช่วงตัวอักษรที่  8
        4.  รายละเอียดในโครงสร้างรูปแบบบรรณานุกรมหนังสือ   มีดังนี้
1. โครงสร้างรูปแบบบรรณานุกรมหนังสือ

    1.1  การอ้างถึงชื่อผู้แต่ง
           1.1.1  ผู้แต่งคนเดียว

           1.1.2  ผู้แต่ง  2  คน ให้ใส่คำว่า  “และ”  เชื่อมระหว่างคนที่  1  กับคนที่  2

           1.1.3  ผู้แต่ง  3  คน  ให้ใส่เครื่องหมายจุลภาคคั่นระหว่างคนที่  1  กับคนที่  2  และใส่คำว่า  “และ”  เชื่อมระหว่างคนที่  2  กับคนที่  3

           1.1.4  ผู้แต่งตั้งแต่  3  คนขึ้นไป  ลงเฉพาะชื่อแรก  และตามด้วยคำว่า  และคนอื่น ๆ

           1.1.5  หนังสือที่ไม่ปรากฏชื่อผู้แต่ง  ให้ใช้ชื่อเรื่องเป็นรายการแรกแทนชื่อผู้แต่ง

           1.1.6  ผู้แต่งใช้นามแฝง  ให้ใช้นามแฝงได้เลย

           1.1.7  หนังสือแปล  ให้ใส่ชื่อ  นามสกุลของผู้แต่ง ก่อนผู้แปล

           1.1.8  ผู้แต่งมีบรรดาศักดิ์  ให้ใส่ชื่อ  นามสกุล  ตามด้วยบรรดาศักดิ์

    1.2  รูปแบบของบรรณานุกรมหนังสือ
           รูปแบบของบรรณานุกรม  มี  2  แบบ
           1.2.1  การอ้างอิงแยกจากเนื้อหาอยู่ท้ายของรายงาน  
                     1)  การอ้างอิงเนื้อหาบางบท  หรือบางตอน  ในหนังสือเล่มเดียวจบ    ให้ใส่ชื่อบท หรือตอน  ใช้คำว่า “ใน” ตามด้วยชื่อหนังสือ  และระบุหน้า  เมืองที่พิมพ์ ผู้รับผิดชอบในการพิมพ์


                     2)  การอ้างอิงเนื้อหาบางบท  หรือบางตอน  ของหนังสือบางเล่มที่มีหลายเล่มจบ ใช้คำว่า “ใน” ตามด้วยชื่อหนังสือ  ระบุเล่ม  และหน้าตามด้วยเลขหน้าที่อ้างอิง เมืองที่พิมพ์ ผู้รับผิดชอบในการพิมพ์

                     3)  การอ้างอิงตลอดทุกเล่มที่มีหลายเล่มจบ  ให้ระบุจำนวนเล่ม ตามด้วย เมืองที่พิมพ์ ผู้รับผิดชอบในการพิมพ์

                     4)  การอ้างอิงเพียงเล่มใดเล่มหนึ่ง  ให้ระบุเล่มที่อ้างอิงตามด้วย เมืองที่พิมพ์ ผู้รับผิดชอบในการพิมพ์

           1.2.2  การอ้างอิงแทรกในเนื้อหา
                     1)  เมื่อต้องการจะแทรกในเนื้อหาสามารถแทรกวงเล็บพร้อมกับอ้างอิงได้ทันที  เมื่อจบข้อความ
                          1.1)  รายการอ้างอิง  ประกอบด้วย  ชื่อ  นามสกุลผู้แต่ง ตามด้วยเครื่องหมายจุลภาค ปีที่พิมพ์ ตามด้วยเครื่องหมายจุลภาค  หน้า/เลขหน้าที่อ้างถึง

                          1.2)  หากไม่มีชื่อผู้แต่ง ให้ใช้ชื่อหน่วยงานแต่ง ตามด้วยเครื่องหมายจุลภาค ปีที่พิมพ์ ตามด้วยเครื่องหมายจุลภาค  หน้า/เลขหน้าที่อ้างถึง

                          1.3)  หากไม่ระบุปีที่พิมพ์  และเลขหน้า  ให้ใช้ตัวอักษรย่อ  “ม.ป.ป.”  ย่อมาจากคำว่า  ไม่ปรากฏเลขหน้า  และระบุคำว่า  ไม่มีเลขหน้าลงไปได้เลย

                     2)  ถ้าระบุชื่อผู้แต่งลงในเนื้อหาแล้วอ้างต่อทันทีในวงเล็บ  ไม่จำเป็นต้องระบุ ชื่อผู้แต่งซ้ำอีก

                     ยกเว้นผู้แต่งเป็นชาวต่างชาติ

                     3)  การอ้างถึงเอกสารที่ไม่สามารถค้นหาต้นฉบับจริงได้  ให้อ้างจากเล่มที่พบ  ใช้คำว่า  “อ้างถึงใน”  หากเป็นบทวิจารณ์  ใช้คำว่า  “วิจารณ์ใน”

                     4)  การอ้างถึงเฉพาะบท  ใช้คำว่า  “บทที่”

                     5)  การอ้างถึงตาราง  ในเนื้อหา  ใช้คำว่า  “ดูตารางที่”  การอ้างถึงภาพในเนื้อหา  ใช้คำว่า  “ดูภาพที่”

2. โครงสร้างและรูปแบบบรรณานุกรมวารสาร
 
    2.1  การเขียนบรรณานุกรมจากบทความในวารสาร  มีปีที่  และฉบับที่

    2.2  บทความในวารสาร  ที่ไม่มีปีที่  ออกต่อเนื่องทั้งปี

3. โครงสร้างและรูปแบบบรรณานุกรมหนังสือพิมพ์

    3.1  การเขียนบรรณานุกรมบทความในหนังสือพิมพ์

    3.2   การเขียนบรรณานุกรมข่าวจากหนังสือพิมพ์  ให้เขียนหัวข่าว

    3.3  การเขียนบรรณานุกรมจากคอลัมน์จากหนังสือพิมพ์

4. รูปแบบบรรณานุกรมเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ระบบออนไลน์  (Online) หรืออินเทอร์เน็ต
    4.1  เว็บเพจ มีผู้เขียน  หรือมีหน่วยงานรับผิดชอบ

    4.2  เว็บเพจไม่ปรากฏผู้เขียน  และปีที่จัดทำ ใส่  ม.ป.ป.  (ไม่ปรากฏปีที่พิมพ์)


ที่มา : http://www.bangkapi.ac.th/MediaOnLine/weerawanWMD/unit5_part13.htm

วันจันทร์ที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2556

คำไวพจน์

คำไวพจน์  คือคำที่มีความหมายเหมือนกัน  แต่ใช้ในบริบทต่างๆกัน

          กษัตริย์         -  ขัตติยะ    บดี    บดินทร์    บพิตร    นฤบดี  

                                 ภูวไนย    ภูมินทร์    ราชา นฤบาล   นฤเบศร์  

                                 นฤบดี  นฤบดินทร์  มหิดล   บพิตร  พระเจ้าอยู่หัว 

                                 ภูบดี ไท้ ไท  นรินทร์  นเรนทร์   นโรดม    ธเรศ 

                                 จักรพรรดิ์ ราชา ราชาธิราช     ราช อดิศรภูวนาถ

                                ภูวไนย ภูมิบาล นริศ ธรณินทร์ อธิราช จักรี


          กิน               -  รับประทาน    เขมือบ    หม่ำ    ฉัน    เสวย
                                 แดก


          งาม             -  วิไล    ไฉไล    ลาวัณย์    ลอย    สวย    โสภา 
                                โสภณ


          คน               -  ชน    นิกร    นร


          ควาย            -  กาสร    กระบือ    มหิงสา


          ช้าง              -  กรี    กุญชร    คช    คชา    พลาย    สาร   
                                 หัตถี    ไอยรา


          ดอกบัว         -  โกมุท    โกมล    ปทุม    อุบล


          เด็ก              -  กุมาร    กุมารี    ผู้เยาว์    ดรุณ    ดรุณี


          ดอกไม้          -  โกสุม    บุปผา    บุษบา    มาลี    ผกา  
                                  มาลัย


          ตาย              -  สิ้นชีพ    เสีย    อาสัญ    มรณะ    วายปราณ
                                  ถึงแก่กรรม    สิ้นชีพตักษัย  
สวรรคต


          น้ำ                -  กระแสสินธุ์    คงคา    ชลธี    ชลธาร    ธารา

                                 ชลสินธุ์    อุทก    วาริน 
อาโป     วารี     ชล    คงคา


     
     ปลา               -   มัจฉา    มัสยา


          ผู้หญิง           -  กัลยา    เยาวมาลย์    ยุพิน    นงคราญ สตรี   อิตถี
                                  นารี  กามินี 
 กัญญา กันยา กัลยาณี กานดา  นงเยาว์
                                  นงพะงา อิตถิ อิสตรี อรไท  อนงค์  บังอร นรี นารี
                                  ยุพเยาว์ ยุพเรศ  วนิดา วธู สุดา

          แผ่นดิน         -  ไผท    พสุธา    หล้า    พิภพ    ธรณี ภูมิ     ธรณี 
                                  ปฐพี    ธาตรี    ธรา

          พูด               -  กล่าว    จำนรรจา    วจี    วาจา    สนทนา


          พระอินทร์      -  อมรินทร์    สหัสนัยน์    เพชรปาณี    มัฆวาน
                                โกสีย์    สักกะ   สุชัมบดี


          พระพุทธเจ้า    -  พระตรีโลกนาถ    พระพุทธองค์    พระทศพล
                                   พระภควันต์    ตถาคต   พระชินสี


          ภูเขา  
            -  คีรี    ไศล    บรรพต    ภูผา    สิงขร


          ม้า                 -  อาชา    อาชาไนย    สินธพ    พาชี    ดุรงค์
                                   หัย       อัศวะ


          ลม                 -  พระพาย    วาโย    วายุ


          ลิง                 -  กระบี่    วานร


          วัว                 -  โค    พฤษภาคม


          ศัตรู              -  ข้าศึก    ดัสกร    ริปู    ปัจจามิตร    ไพรี 
                                  ปัจนึก    อริ


        พระจันทร์        -  รัชนีกร    แข     บุหลัน     นิศากร     ศศิธร 
 

                                 นิศากร วราลี ตมิสา ตารเกศ ศศิธร  แข รัชนี บุหลัน

        พระอาทิตย์      -  ทินกร     ประภากร     ทิวากร       ตะวัน  สุริยา  ไถง 

                                  สุริยา  สุริยัน  พันแสง สุรีย์   รวิ    ระวี


        ทองคำ            -  สุวรรณ       เหม      กนก     มาศ     อุไร

       

        เมือง               -  บุรี     ธานี      นคร   ปุระ    กรุง


       
 ภูเขา              -  คีรี     สิงขร     บรรพต     ไศล     ศิขรินทร์


        นักบวช          -   มุนี     ฤษี     ดาบส     นักพรต     นักสิทธิ์

        ไฟ                 -   อัคคี     เตโช     เพลิง    อัคนี    บาพก


        ช้าง               -  ไอยรา    ดำรี   กุญชร    สาร   คช


       ท้องฟ้า           -   นภา    เวหา   อัมพร   คัคนานต์  ทิฆัมพร วรัมพร
                                 โพยม เวหา  คัคนางค์


        นก                -   สกุณา    ปักษา     สุโนก     วิหค    ชากร  ปักษี 
                                สกุณี  บุหรง ทวิช


       งู                   -   อุรค ภุชงค์     ผณี     ทีฆชาติ    นาคา


        ยักษ์              -    อสูร    รากษส     แทตย์     ทานพ    มาร


        เทวดา           -    อมร    เทพ      สุร     เทพยดา   นิรชร
                                  เทวา    อมร   


        นางฟ้า          -    อัจฉรา     อัปสร       รัมภา      เทพธิดา   
                                   เทวี


       เด็ก                -    พาล    ทารก    ดรุณ    กุมาร     ศิศุ


       ต้นไม้             -    พฤกษ์      รุกข์     ตรุ     เฌอ     ทุม


      พ่อ                 -    บิดา    ชนก     บิตุรงค์    บิดร    ปิตุ


      แม่ 
                 -    มารดา      ชนนี    ชเนตตี    นนทลี   มาตุ


      สวยงาม          -     ประไพ     อำไพ    วิลาวัณย์     วิไล     โสภา


      ข้าศึก             -    ริปู     ปัจนึก      ศัตรู    ปรปักษ์    บร


      ตาย               -    อาสัญ      บรรลัย       มรณา      ตักษัย   
                               วายชนม์ 


      ใจ                 -    กมล     หทัย      ฤดี     ฤทัย      แด


       ป่า                -   อรัญ ชัฎ ไพร พงพี พนา ไพรสัณฑ์ พนาสณฑ์
                                พนัส พนาดร เถื่อน
 พง      ดง      อารัญ    ไพร
                               อรัญ       พนาวัน    ไพรวัน 


       ม้า                -    อาชา อาชาไนย พาชี หัยราช สินธพ


      เพชร             -  มณิ มณี พัชร พชระ วิเชียร วชิร วชิระ วัชระ 

 ที่มา : http://www.pasasiam.com

วันอังคารที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2556

อักษรย่อที่ควรรู้

ตำแหน่ง


ขรก
ข้าราชการ
กญ.
กองการศึกษาผู้ใหญ่

นร.
นักเรียน
ก.ตร.
กรมตำรวจ

นศ
นักศึกษา
กฟผ.
การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย

อ.
อาจารย์
กฟภ.
   การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค

ศจ.
ศาสตราจารย์
    กอรมน.
กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน

รศ.
รองศาสตราจารย์
กกร.
คณะกรรมการร่วมภาคเอกชน

ผศ.
ผู้ช่วยศาสตราจารย์
กนอ
การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย

ผอ.
ผู้อำนวยการ
กบว
คณะกรรมการบริหารวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย

ดร.
ด็อกเตอร์
กกท.
คณะกรรมการการกีฬาแห่งประเทศไทย

น.พ.
นายแพทย์
กสท.
การสื่อสารแห่งประเทศไทย

พ.ญ.
แพทย์หญิง
กทม.
กรุงเทพมหานคร

ท.พ.
ทันตแพทย์
กปน.
การประปานครหลวง

ท.ญ.
ทันตแพทย์หญิง
ครม.
คณะรัฐมนตรี

รมต.
รัฐมนตรี
คคบ.
คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค

รมช.
รัฐมนตรีช่วยว่าการ
จีบา
สถาบันบริหารธุรกิจ-จุฬา

รมว.
รัฐมนตรีว่าการ
ททท.
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย

ส.ส.
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
ธอส.
ธนาคารอาคารสงเคราะห์

สจ.
สมาชิกสภาจังหวัด
ธกส.
ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร

ส.ท.
สมาชิกสภาเทศบาลตำบล
ธ.
ธนาคาร

ส.ภ.อ.
สมาชิกสภาอำเภอ
นิด้า
สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

สวป.
สารวัตรปราบปราม
บีโอไอ
คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน

สวญ.
สารวัตรใหญ่
บ.
บริษัท

สวส.
สารวัตรสืบสวน
บ.ด.ท.
บริษัทเดินอากาศไทย จำกัด

ท.ส.
นายทหารคนสนิท
บช.น.
กองบัญชาการตำรวจนครบาล

ผบ.สูงสุด
ผู้บัญชาการทหารสูงสุด
บช.ภ.
กองบัญชาการตำรวจภูธร

ผบ.ทบ.
ผู้บัญชาการทหารบก
ปตท.
การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย

ผบ.ทบ.
ผู้บัญชาการทหารบก
ปปป.
คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบในวงราชการ

ผบ.ทร.
ผู้บัญชาการทหารเรือ
ปปส.
คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด

ผบ.ทอ.
ผู้บัญชาการทหารอากาศ
มท.
กระทรวงมหาดไทย

ผบก.ป.
ผู้บังคับการกองปราบปราม
ม.
มหาวิทยาลัย

ต.ช.ด.
ตำรวจตระเวนชายแดน
มธ.
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

รมว.
รัฐมนตรีว่าการ
มก.
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

อส.
อาสาสมัคร
มช.
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

อ.ตร.
อธิบดีกรมตำรวจ
มศว.
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

ร.พ.ช.
สำนักงานเร่งรัดพัฒนาชนบท
สน.
สถานีตำรวจนครบาล

ร.ส.พ.
องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์
สน.ภ.
สถานีตำรวจภูธร

ร.พ.
โรงพยาบาล
สปอ.
สำนักงานการประถมศึกษาอำเภอ

ร.ด.
รักษาดินแดง
สปช.
สำนักงานการประถมศึกษาแห่งชาติ

วค.
วิทยาลัยครู
สปจ.
สำนักงานการประถมศึกษาจังหวัด

วปอ.
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
สช.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน

ศธ.
กระทรวงศึกษาธิการ
สปอ.
องค์การสนธิสัญญาป้องกันร่วมกันระหว่างเอเชียอาคเนย์

สน.
สถานีตำรวจนครบาล
ห.จ.ก.
ห้างหุ้นส่วนจำกัด

สน.ภ.
สถานีตำรวจภูธร
ห.ส.น.
ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล

สปอ.
สำนักงานการประถมศึกษาอำเภอ
อตก.
องค์การตลาดเพื่อเกษตรกร

สปช.
สำนักงานการประถมศึกษาแห่งชาติ
อย.
คณะกรรมการอาหารและยา

สปจ.
สำนักงานการประถมศึกษาจังหวัด
อ.ส.ม.ท.
องค์การสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทย

สช.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน
อ.ส.ท.
องค์การส่งเสริมการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
สปอ.   องค์การสนธิสัญญาป้องกันร่วมกันระหว่างเอเชียอาคเนย์
อสร.
องค์การผลิตอาหารสำเร็จรูป
              สมช.    สภาความมั่นคงแห่งชาติ
อสค.
องค์การส่งเสริมการเลี้ยงโคนมแห่งประเทศไทย
              สวช.    สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ

ทหารบก
ทหารอากาศ
ท.บ.
ทหารบก
ท.อ.
ทหารอากาศ
น.น.ร.
นักเรียนนายร้อย
น.ร.อ.
นักเรียนนายเรืออากาศ
พลฯ
พลทหาร
จ.อ.ต.
จ่าอากาศตรี
ส.ต.
สิบตรี
จ.อ.ท.
จ่าอากาศโท
ส.ท.
สิบโท
จ.อ.อ.
จ่าอากาศเอก
ส.อ.
สิบเอก
พ.อ.ต.
พันจ่าอากาศตรี
จ.ส.ต.
จ่าสิบตรี
พ.อ.ท.
พันจ่าอากาศโท
จ.ส.ท.
จ่าสิบโท
พ.อ.อ.
พันจ่าอากาศเอก
จ.ส.อ.
จ่าสิบเอก
ร.ต.
เรืออากาศตรี
ร.ต.
ร้อยตรี
ร.ท.
เรืออากาศโท
ร.ท.
ร้อยโท
ร.อ.
เรืออากาศเอก
ร.อ.
ร้อยเอก
พล.อ.ต.
พลอากาศตรี
พ.ต.
พันตรี
พล.อ.ท.
พลอากาศโท
พ.ท.
พันโท
พล.อ.อ.
พลอากาศเอก
พ.อ.
พันเอก
ตำรวจ
พล.ต.
พลตรี
ต.ร.
ตำรวจ
พล.ท.
พลโท
น.ร.ต.
นักเรียนนายร้อยตำรวจ
พล.อ.
พลเอก
ส.ต.ต.
สิบตำรวจตรี
ทหารเรือ
ส.ต.ท.
สิบตำรวจโท
ท.ร.
ทหารเรือ
ส.ต.อ.
สิบตำรวจเอก
น.ร.
นักเรียนนายเรือ
จ.ส.ต.
จ่านายสิบตำรวจตรี
จ.ต.
จ่าตรี
จ.ส.ท.
จ่านายสิบตำรวจโท
จ.ท.
จ่าโท
จ.ส.อ.
จ่านายสิบตำรวจเอก
จ.อ.
จ่าเอก
ดต.
นายดาบตำรวจ
พ.จ.ต.
พันจ่าตรี
ร.ต.ต.
ร้อยตำรวจตรี
พ.จ.ท.
พันจ่าโท
ร.ต.ท.
ร้อยตำรวจโท
พ.จ.อ.
พันจ่าเอก
ร.ต.อ.
ร้อยตำรวจเอก
ร.ต.  (ร.น.)
เรือตรี  (ราชนาวี)
พ.ต.ต.
พันตำรวจตรี
ร.ท.  (ร.น.)
เรือโท  (ราชนาวี)
พ.ต.ท.
พันตำรวจโท
ร.อ.  (ร.น.)
เรือเอก  (ราชนาวี)
พ.ต.อ.
พันตำรวจเอก
น.ต.  (ร.น.)
นาวาตรี  (ราชนาวี)
พล.ต.ต.
พลตำรวจตรี
น.ท.  (ร.น.)
นาวาโท  (ราชนาวี)
พล.ต.ท.
พลตำรวจโท
น.อ.  (ร.น.)
นาวาเอก  (ราชนาวี)
พล.ต.อ.
พลตำรวจเอก
พล.ร.ต.
พลเรือตรี
         หมายเหตุ ยศตำรวจนั้นมีเพิ่มพิเศษอีก
         ยศหนึ่ง คือนายดาบตำรวจซึ่งเลื่อน
         มาจากจ่านายสิบตำรวจเอกยศนี้
         ต่ำกว่ายศนายร้อยตำรวจ


 
พล.ร.ท.
พลเรือโท
พล.ร.อ.
พลเรือเอก 

 

อักษรย่ออื่นๆ














ปท.
ไปรษณีย์โทรเลข
รัฐฯ
รัฐบาล
ตู้  ปณ.
ตู้ไปรษณีย์
มร.
มิสเตอร์  (นาย)
ปชส.
ประชาสัมพันธ์
ตร.
ตำรวจ
ภ.ง.ด.
ภาษีเงินได้
ต.
ตำบล
พ.ร.บ.
พระราชบัญญัติ
อ.
อำเภอ
พ.ร.ฎ.
พระราชกฤษฎีกา
จ.
จังหวัด
พรก.
พระราชกำหนด
รธน.
รัฐธรรมนูญ
โทร.
โทรศัพท์
ร.
รัชกาล
ป.ล.
ปัจฉิมลิขิต
กม.
กฎหมาย
สต.
สตางค์
ครม.
คณะรัฐมนตรี
บ.
บาท
ผกค.
ผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์
จนท.
เจ้าหน้าที่




ที่มา : http://www.moe.go.th